เศรษฐศาสตร์คืออะไร?

เศรษฐศาสตร์ (Economics) เป็นแนวคิดเกี่ยวกับสังคมและมนุษย์ที่ว่าด้วยเรื่องของการจัดการ ตลอดจนการ
พยายามเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นด้วยหลักของเหตุและผล ใช้ความคิดอย่างมีตรรกะ เพื่อนำไปสู่สิ่งที่
ดีขึ้นในอนาคต
 
 
ที่มาของเศรษฐศาสตร์
 
Slide1
 
หลายคนกล่าวว่าเศรษฐศาสตร์เริ่มต้นจาก Adam Smith ในช่วงอังกฤษรุ่งเรือง แต่จริงๆแล้วรากฐานของ
เศรษฐศาสตร์นั้นย้อนกลับไปก่อนหน้านั้นนับพันปี โดยเริ่มมาตั้งแต่สมัยกรีก ซึ่งเป็นคำผสมระหว่าง oikos
(ครัวเรือน) และ nomos(กฎ) ออกมาเป็น oikonomia(การจัดการครัวเรือน)ซึ่งพูดถึงหลักการในการใช้ชีวิต
และบริหารทรัพย์สินของผู้คน

นั่นหมายความว่า จริงๆแล้ว เศรษฐศาสตร์ไม่ใช่วิชาใหม่อะไร และก็ไม่ใช่ที่วิชาที่มีความซับซ้อน เพราะตั้งแต่
มนุษย์เริ่มเป็นสัตว์สังคมอยู่ร่วมกันแนวคิดแบบเศรษฐศาสตร์ ก็ถูกนำเข้ามาใช้โดยไม่รู้ตัว แต่ได้รับการทำให้
เป็นรูปเป็นร่างของ วิชาของการจัดการทรัพยากรต่างๆของมนุษย์ในยุครุ่งเรืองของอังกฤษ  
 
  
ต้องจัดการทรัพยากรชนิดใด
 
Slide2
 
ทรัพยากรในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง อะไรก็ตามที่เรามี ไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่เงิน แต่กินความกว้างถึงสิ่งที่มี
อยู่ทั้งจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เช่น เครื่องไม้เครื่องมือ ความรู้ ความชำนาญการ รวมถึงเทคนิคในการผสม
ผสานสิ่งต่างๆเข้าด้วยกัน เมื่อเทียบกับความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่อย่างไม่จำกัด ถือว่าทรัพยากรต่างๆ
เหล่านี้มีไม่เพียงพอ หรือมีความขาดแคลนต่อทรัพยากร คำถามที่เศรษฐศาสตร์สนใจก็คือ 
ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างขาดแคลนนี้ควรจะถูกใช้อย่างไรเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด
  
Slide3
 
หลักการอย่างง่ายและมีเหตุผลสำหรับการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ก็คือ เราก็ควรใช้ทรัพยากรไปกับสิ่งที่คุ้มค่าที่สุด
ซึ่งก็หมายความว่า เงินที่เราจ่ายออกไปเวลาซื้อของจะต้องจ่ายเพื่อความสุขสูงสุด สำหรับเงินทุกบาท
ทุกสตางค์ที่จ่ายออกไป
 
  
ตัวอย่าง Slide4
 
ตัวอย่างที่ง่ายและใกล้ตัวที่สุดก็คือ การจัดการกับเวลา ทุกๆคนมีทรัพยากรด้านเวลาเท่ากันในแต่ละวันคือ 
24 ชม. แต่การจะใช้ทรัพยากรนี้จะแตกต่างกันตามมูลค่าที่แต่ละคนให้กับกิจกรรมต่างๆ ดังนั้นการจัดสรร
เวลาที่มี ก็จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่เพื่อเป้าหมายเดียวกันคือการสร้างความสุขสูงสุด โดย
แบ่งเวลา สำหรับการพักผ่อน และการทำงานอย่างเหมาะสม เพื่อให้แต่ละคนกินอิ่มนอนหลับมากน้อยตามต้องการ
 
Slide5
 
ตัวอย่างของการจัดสรรทรัพยากรอีกอย่างก็คือ ที่ดิน เช่น หากเรามีที่ดินจำนวนหนึ่ง เราก็ต้องเลือกว่า จะใช้ที่ดิน
ทำอะไร เพื่อให้เกิดผลตอบแทนสูงสุด (ทั้งรายได้ และมูลค่า) เพื่อให้ที่ดินอันน้อยนิดของเรานี้สามารถสร้างเงินให้
เราหาซื้อทรัพยากรมาเพิ่มเติมได้ โดยหลักแล้ว ทุกๆสิ่งในโลกล้วนแต่มีเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนประชากร ความต้องการ
สินค้า การขยายกำลังการผลิต แต่สิ่งที่แทบจะไม่สามารถหาเพิ่มได้เลยก็คือที่ดิน ดังนั้น ที่ดินจึงเป็นทรัพยากรที่มี
ความขาดแคลน รวมถึงสามารถสร้างคุณค่าในตนเอง จึงเป็นที่มาว่าทำไมราคาที่ดินจึงแพงลิบ และมีแต่ผู้คนให้
ความสำคัญกับมัน
 
 
ตลาดและกลไกราคา Slide6
 
เมื่อมีทรัพยากร และมีผู้ที่ต้องการทรัพยากร ก็จะทำให้เกิดการผลิต การซื้อขายขึ้นตามอัตโนมัติ คือ เมื่อมีสิ่งใด
ที่คนอยากได้และต้นทุนในการสร้างมันขึ้นมาไม่สูงจนเกินไป ก็จะต้องมีผู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการนั้นๆ 
สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายก็คือ ตลาด และเงินที่จ่ายสำหรับสินค้า 1 ชิ้น ก็คือ ราคา ราคาจะขึ้นหรือ
ลงอย่างไรนั้น ก็ขึ้นกับสิ่งที่เรียกว่า กลไกตลาด เมื่อมีความต้องการมากๆ หรือมีคนขายในปริมาณน้อย ก็ย่อม
ทำให้มีราคาสูง และเมื่อใดที่มีความต้องการน้อย หรือมีคนขายกันเต็มไปหมด ก็ย่อมทำให้ราคาลดลง และนี่เป็น
สัจธรรมของโลก
 
 
เศรษฐกิจภาพรวม 
 
Slide7
 
เมื่อเราถอยหลังออกมามองให้ไกลขึ้น เราก็จะเห็นว่าในโลกของเรามีการแลกเปลี่ยนซื้อขายเกิดขึ้นตลอดเวลา
และมีปริมาณมาก เพื่อให้เห็นภาพใหญ่ เราก็สามารถจัดหมวดหมู่และรวมเอาสิ่งที่แต่ละคนทำให้ออกมาเป็นสิ่ง
ที่กินความกว้างขึ้น ซึ่งเราก็อาจแบ่งได้อย่างง่ายๆ ออกเป็น 3 ด้าน คือ 

1.ด้านการซื้อขายสินค้า (การซื้อ-ขาย สินค้าและบริการทุกชนิด) 
2.ด้านการใช้ทรัพยากรการผลิต (การว่าจ้างแรงงาน,การประกอบการ,การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ-เครื่องจักร) และ 
3.ด้านการเงิน (การกู้-ยืมเงิน, การลงทุนรูปแบบต่างๆ, การซื้อ-ขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน) 

โดยทั้ง 3 ด้านนี้ ล้วนเกิดขึ้นโดยการกระทำระหว่างคน 2 กลุ่ม คือ หน่วยครัวเรือน และ หน่วยการผลิต การจับตา
ดูในภาพรวมนี้เองที่ทำให้เราทราบว่า เศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่งมีการขยายตัว หรือหดตัว สามารถ
กำหนดทิศทางในการดำเนินการเพื่อยกระดับให้มาตรฐานการครองชีพของคนดีขึ้น

ใส่ความเห็น