จะขายของต้องทำอะไรบ้าง?

สร้างมูลค่าเพิ่ม

ในโลกการค้า ไม่ใช่ว่าของทุกอย่างจะสามารถขายได้ อากาศซึ่งมีอยู่ทั่วไปถ้าเอามาใส่ขวดขายก็คงไม่มีใครซื้อ แต่อากาศอัดกระป๋องที่นำมาเติมธาตุออกซิเจน หรือ ใส่กลิ่น (น้ำหอม) กลับสามารถขายได้ด้วยราคาแพง

สิ่งสำคัญประการแรกของการขายของคือ สิ่งๆนั้นจะต้องมีมูลค่าเพิ่ม มีคุณค่ากับผู้ซื้อ เช่น การซื้ออาหารถือเป็นการซื้อความสะดวกและรสชาติที่อร่อย การซื้อโทรศัพท์มือถือก็เป็นการซื้อความสามารถในการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น

ดังนั้น สิ่งของที่ขายจึงต้องผ่านขั้นตอนของการผลิต โดยนำปัจจัยการผลิตมาแปรรูปด้วย เทคโนโลยี วิธีการ หรือความสามารถเฉพาะตัวให้ออกมาเป็นสิ่งของใหม่ๆที่มีค่าต่อผู้ซื้อ

 

Slide1

 

ปัจจัยการผลิตมีกี่แบบ?

ปัจจัยการผลิตนั้นมีด้วยกัน 2 แบบ คือ ปัจจัยการผลิตที่ต้องใช้มาก/น้อยเมื่อเราต้องการขายสินค้าจำนวนมาก/น้อย และ ปัจจัยการผลิตที่มีจำนวนคงที่ไม่ว่าเราจะขายของจำนวนกี่ชิ้น

เช่น ถ้าเราเป็นร้านขายหมูปิ้ง ถ้าเราต้องการขายหมูปิ้งให้ได้มากๆ ก็ต้องใช้ หมู ไม้ เครื่องเทศ เวลา แรงงาน เสียงตะโกนเรียกลูกค้า จำนวนมากๆ แต่เรารถเข็น 1 คัน หรือมี ร้าน 1 ที่ ก็สามารถขายหมูปิ้งจำนวนเท่าไหร่ก็ได้

ราคาของปัจจัยที่เปลี่ยนไปตามจำนวนการผลิต ก็จะเป็นตัวกำหนดต้นทุนผันแปรของเรา ในขณะที่ราคาค่าเช่าร้าน หรือราคาของปัจจัยคงที่ก็จะเป็นตัวกำหนดต้นทุนคงที่ในการขายของนั่นเอง

สิ่งที่สำคัญก็คือเราจะต้องทำการลงทุน กำหนดปริมาณการขายโดยที่คำนึงถึงต้นทุนในการสร้างสินค้าของเราด้วย

 

Slide2

 

แล้วต้องลงทุนเท่าไหร่?

ปริมาณการลงทุนนอกจากจะขึ้นกับชนิดหรืออุตสาหกรรมที่เราต้องการเข้าไปทำการค้าแล้ว ยังต้องขึ้นกับปริมาณที่เราคิดว่าจะขายด้วย เช่น ถ้าเราต้องการทำธุรกิจขนส่งสินค้า เราก็ต้องคิดว่าเราจะส่งของจำนวนมากหรือน้อย ชิ้นใหญ่หรือเล็ก ระยะทางไกลหรือใกล้

การวางแผนธุรกิจนี้ก็จะเป็นตัวบอกเราว่า ธุรกิจขนส่งของเรานี้ อาจจะใช้แค่รถเข็นเล็กๆซึ่งมีราคาถูกก็เพียงพอแล้วเพราะเราจะส่งของเบา ระยะใกล้ และจำนวนไม่มาก แต่ถ้าเราต้องการส่งของไกลๆ เราเข็นรถเข็นไปก็คงไม่ไหว ต้นทุนค่าเสียเวลาของเรานั้นคงจะไม่คุ้มค่าเหนื่อยแน่นอน เราก็ต้องซื้อรถบรรทุกเพื่อที่จะได้ส่งของได้ทีละมากๆและระยะไกล

ประเด็นอยู่ที่ว่า ปริมาณการลงทุนกับต้นทุนต่อหน่วยนั้นจะไปในทางตรงกันข้าม ถ้าเราลงทุนน้อย เราก็ต้องใช้แรงเยอะ หรือใช้เวลาเยอะในการส่งของทำให้ต้นทุนส่งของต่อชิ้นแพงกว่าการที่เราขนของด้วยรถซึ่งการขนของ 1 รอบสามารถนำของไปด้วยได้จำนวนมากกว่ากันเป็นสิบๆเท่า และถ้าเรายิ่งขนของมากขึ้นในแต่ละรอบ ก็ยิ่งทำให้ต้นทุนของเราถูกลงซึ่งปรากฏการณ์นี้เรียนว่า การประหยัดต่อขนาด

 

Slide3

 

แล้วสรุปว่าจะต้องขายเท่าไหร่?

ถ้าเราต้องการขายของ เราก็ต้องมีเป้าหมายของสิ่งที่อยากได้ และสิ่งที่คนต้องการจากการค้าขายมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้น “กำไร” เพื่อที่จะเป็นเศรษฐีเงินล้านกันสักวันหนึ่ง

กำไรก็คิดคำนวณได้ง่ายๆ คือ เราขายของได้เท่าไหร่ หักออกด้วยต้นทุนที่เราใช้ไป สิ่งที่เหลืออยู่ก็คือกำไร โจทย์ก็ง่ายคือ เราจะทำยังไงให้รายได้มีเยอะๆ และมีต้นทุนน้อยๆ และทำให้ส่วนต่างของรายได้กับต้นทุนห่างกันมากที่สุด

 

Slide5

 

แต่ถ้าคิดจากต้นทุนรวมคุณจะไม่รวยที่สุด

เมื่อลงทุนผลิตสินค้าอะไรสักอย่างแล้ว ต้นทุนที่คงที่ต่างๆเป็นสิ่งที่ไม่ควรนำมาคิดแล้ว เรื่องนี้ก็ตรงไปตรงมา เพราะ ถ้าเราลงทุนไป 1000 บาทเป็นปัจจัยคงที่ เช่น เช่าร้าน และของที่เราจะขายมีต้นทุนชิ้นละ 10 บาท สามารถขายได้ชิ้นละ 20 บาท ในกรณีดังกล่าวนี้เราก็ต้องพยายามขายให้ได้จำนวนชิ้นมากที่สุด เพราะการที่เราไม่ขายเลยเราก็ต้องจ่าย 1000 บาทนั้นไปอยู่ดี แต่ถ้าเราขายได้ก็จะทำให้กำไรของเราเพิ่มขึ้นเป็น -990, -980,… และถ้าเราขายดีจริงๆ เราก็จะสามารถพลิกเลขติดลบนี้ขึ้นมาเป็นบวกได้ ซึ่งก็หมายความว่าเราได้กำไรจากการลงทุนครั้งนี้แล้ว

 

Slide6

 

แต่ถ้าเราจะขายได้จำนวนมากจริงๆ สุดท้ายแล้วต้นทุนต่อหน่วยก็จะสูงขึ้น เช่น การขายของ 100 ชิ้น อาจจะไม่ยากมาก แต่ถ้าเราต้องขายของแบบเดียวกันนี้ 10,000 ชิ้น เราก็อาจจะต้องมีการโฆษณา มีการลด แลก แจก แถม ซึ่งทำให้ต้นทุนแพงขึ้น  ไม่ก็มีราคาต่อชิ้นต่ำลง สุดท้ายเราก็ต้องหาจุดสมดุลที่จะเลือกขายสินค้าอย่างพอดีๆ และสร้างเส้นทางสู่เงินล้านของตัวเอง

 

ใส่ความเห็น